วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559

BIOS คืออะไร

BIOS คืออะไร ทำหน้าที่อะไร ประโยชน์ของ BIOS มีอะไรบ้าง

          BIOS ย่อมาจาก Basic Input Output System คือโปรแกรมที่เก็บไว้ในหน่วยความจำถาวรอย่าง ROM ซึ่งรอมนั้นเป็นหน่วยความจำที่ไม่ต้องมีไฟฟ้าเลี้ยงตัวรอมก็ได้ ข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ในรอมก็จะไม่หายไปไหน
          โปรแกรม BIOS เป็นโปรแกรมที่คอมพิวเตอร์จะเรียกใช้งานเป็นโปรแกรมแรก ๆในการเปิดเครื่อง โดยเราจะได้ยินเสียง BIOS ในการเปิดเครื่องทุกครั้ง ซึ่งเสียงทุกเสียงในตอนเปิดเครื่องจะบ่งบอกถึงปัญหาและสภาพของคอมพิวเตอร์

BIOS ที่ใช้งานกันทั่วไปแบ่งเป็น 3 แบบด้วยกันคือ
  1. ไบออสของ Award เป็นไบออสที่นิยมใช้งานที่สุด เพราะมีการออกแบบมาให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจในการปรับแต่งต่าง ๆได้ง่ายขึ้น โดยทาง Award นั้นมุ่งเน้นในการผลิตไบออสให้กับเมนบอร์ดเพียงอย่างเดียว
  2. ไบออสของ AMI เป็นไบออสตัวแรก ๆที่มีการใฃ้เมาส์ในการปรับแต่งไบออส ซึ่งต่อมาได้การพัฒนาให้มีการใช้งานง่ายมากขึ้นซึ่งอาจจะเทียบเท่าหรือเหมือนกับ ไบออส Award เลยทีเดียว
  3. ไบออสของ Phoenix เป็นไบออสที่ไม่ค่อยมีตัวเลือกในการปรับแต่ซักเท่าไร ซึ่งส่วนมากแล้วจะใช้งานกับเครื่องที่มียี่ห้อ เพราะว่าไบออสPhoenix จะมีการปรับตั้งค่ามาจากโรงงานผู้ผลิตแล้ว ในปัจจุบันไบออสของ Phoenix ได้รวมกิจการกับ ไบออสของ Award แล้ว
BIOS ทำหน้าที่อะไร
          หน้าที่ของ BIOS หลัก ๆก็คือโปรแกรมขนาดเล็กที่ทำงานเป็นโปรแกรมแรก ซึ่งโปรแกรม BIOS จะทำงานต่ำกว่าระบบปฏิบัติการ ซึ่งไบออสจะคอยตรวจสอบอุปกรณ์ต่าง ๆในการเชื่อมต่อ อาทิ ฮาร์ดดิกส์ ซีดีรอม เป็นต้น เพื่อตรวจสอบความผิดพลาดต่าง ๆ เมื่อพบความผิดพลาดก็จะรายงานออกมาที่หน้าจอหรือรายงานออกมาเป็นเสียงในตอนเปิดเครื่องก็ได้เช่นกัน

          หลังจากตรวจสอบแล้ว ไบออสจะโหลดระบบปฏิบัติการจากฮาร์ดดิสก์ ไปที่แรม(Ram) หลังจากนั้นไบออสจะทำหน้าที่บริหารจัดการการไหลของข้อมูลระหว่างระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออยู่
ประโยชน์ของ BIOS มีอะไรบ้าง
ประโยชน์ของ BIOS หลักๆ และสามารถแบ่งได้เป็นข้อๆดังนี้
  1. เราสามารถปรับแต่งไบออสภายในเครื่องให้ทำงานอย่างมีเสถียรภาพ ซึ่งจะทำให้การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นเร็วขึ้น แต่ถ้าปรับแต่งไบออสมีการผิดพลาดก็จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ค้างได้เหมือนกัน
  2. แก้ปัญหาฮาร์ดแวร์ต่างๆ ซึ่งในบางครั้งมีการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่ม แต่ไม่สามารถทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เราสามารถปรับแต่งไบออสเพื่อแก้ไขปัญหานี้ได้เช่นกัน
  3. ไบออสสามารถรายงานผลต่างๆที่เป็นปัญหาออกมาเป็นจังหวะเสียง เพื่อให้ผู้ตรวจสอบพบปัญหาได้ง่ายขึ้นและแก้ไขปัญหานั้นได้ตรงจุด

          โปรแกรม BIOS เป็นโปรแกรมที่สำคัญมาก เพราะว่าถ้าโปรแกรมไบออสเสียหรือใช้งานไม่ได้ เราก็ไม่สามารถที่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เหมือนกัน ผู้ที่หวังจะเป็นช่างคอมพิวเตอร์ที่เก่งควรมั่นศึกษาเสียงของ BIOS แต่ละยี่ห้อไว้เพื่อจะได้ทำการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น

โครงสร้างของระบบปฏิบัติการ

โครงสร้างของระบบปฏิบัติการ

          ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่จัดเตรียมสภาวะแวดล้อมเพื่อช่วยให้โปรแกรมทำงานได้ การ ออกแบบถือเป็นงานหลักในการสร้างระบบปฏิบัติการใหม่ ก่อนการออกแบบจะต้องกำหนดเป้าหมายของระบบขึ้นมาก่อน หลังจากนั้นจะต้องสร้างอัลกอริทึมที่หลากหลายที่จะเป็นต้องใช้ในการสร้างระบบ แล้วสร้างระบบตามอัลกอริทึมนั้นมีจุดที่น่าสนใจในการพิจารณาระบบปฏิบัติการ 2-3 ประการ ประการแรกให้พิจารณาเซอร์วิสของระบบ ปฏิบัติการที่มีมาให้ ประการที่สองคือการดูที่อินเทอร์เฟซระหว่างผู้ใช้กับโปรแกรมเมอร์ ประการสุดท้ายคือการแยกส่วนประกอบของระบบออกเป็นส่วนย่อย ๆ รวมถึงการเชื่อมโยงระหว่างส่วนย่อย ๆ นั้นด้วย ในหัวข้อนี้ผู้เขียนจะนำคุณเข้าไปสำรวจจุดที่ควรพิจารณาทั้ง 3 ประการของระบบปฏิบัติการเพื่อแสดงมุมมองของผู้ใช้, โปรแกรมเมอร์และผู้ออกแบบระบบ เราจะพิจารณาเซอร์วิสของระบบปฏิบัติการว่ามีอะไรบ้าง แต่ละเซอร์วิสทำอะไรบ้าง รวมถึงวิธีต่าง ๆ ที่ใช้ในการออกแบบระบบ

          คอมโพเนนต์ของระบบ (System Component) 
          เราสามารถสร้างระบบให้ใหญ่โตและซับซ้อนได้ด้วยการแบ่งให้เป็นส่วนย่อย แต่ละส่วนย่อยเหล่านี้เป็นโครงสร้างของระบบที่ออกแบบอินพุต, เอาต์พุต และฟังก์ชัน แต่เดิมนั้นทุกระบบมีคอมโพเนนต์ที่ไม่เหมือนกัน อย่างไรก็ตามระบบสมัยใหม่มีเป้าหมายที่สนับสนุนคุมโพเนนต์ที่เป็นพื้นฐานของระบบปฏิบัติการดังนี้

          การจัดการโปรเซส (Process Management)           ซีพียูทำหน้าที่เอ็กซิคิวต์คำสั่งที่อยู่ในโปรแกรม โปรแกรมที่เอ็กซิคิวต์เป็นโปรเซสแต่เป็นเพียงการกำหนดในเบื้องต้นที่สามารถขยายเพิ่มเติมในอนาคต โดยปกติแล้วงานแบ็ตซ์เป็นโปรเซส การแชร์เวลาของโปรแกรมก็เป็นโปรเชส หรือแม้แต่งานของระบบ เช่น การสพูล เอาต์พุตออกทางเครื่องพิมพ์ ก็เป็นโปรเซสเช่นกัน โปรเซสต้องการรีซอร์สที่แน่นอนเพื่อให้งานเสร็จสมบูรณ์ ทั้งเวลาสำหรับซีพียู, หน่วยความจำ, ไฟล์, และดีไวซ์ที่เป็นอินพุตและเอาต์พุต รีซอร์สเหล่านี้จะนำมาใช้เมื่อมีการสร้างหรือกำหนดให้โปรเซสทำงาน นอกจากนี้เมื่อมีการสร้างโปรเซสก็อาจจะมีการส่งข้อมูลเริ่มต้นไปให้ทั้งรีซอร์สทางกายภาพและทางลอจิก โปรเซสเป็นหน่วยหนึ่งของระบบ โดยปกติระบบจะประกอบด้วยโปรเซสเป็นจำนวนมาก บ้างก็เป็นโปรเซสของระบบปฏิบัติการ (ที่เอ็กซิคิวต์โค้ดของระบบ) ที่เหลือก็เป็นโปรเซสของผู้ใช้ (ที่เอ็กซิคิวต์โค้ดของผู้ใช้) โปรเซสทั้งหมดนี้มีศักยภาพที่จะเอ็กซิคิวต์ไปพร้อม ๆ กันด้วยความซับซ้อนของซีพียูนั่นเอง ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่รับผิดชอบในกิจกรรมที่เกี่ยวกับการจัดการโปรเซสดังนี้

  • การสร้างและลบทั้งโปรเซสของระบบและของผู้ใช้ 
  • การหยุดและทำโปรเซสต่อไป 
  • การจัดเตรียมกลไกสำหรับการซินโครไนซ์โปรเซส 
  • การจัดเตรียมกลไกสำหรับการติดต่อสื่อสารโปรเซส 
  • การจัดเตรียมกลไกการแก้ไข deadlock 

          การจัดการหน่วยความจำ (Memory Managememt)           หน่วยความจำเป็นส่วนสำคัญและเป็นศูนย์กลางการทำงานของระบบปฏิบัติการยุคใหม่ หน่วยความจำเป็นอาร์เรย์ของคำหรือไบต์ โดยที่แต่ละคำหรือไบต์จะมีแอ็ดเดรสที่แน่นอนเป็นของตัวเอง หน่วยความจำเป็นที่เก็บข้อมูลที่ใช้งานร่วมกันของซีพียู และดีไวซ์สำหรับอินพุตและเอาต์พุต เพื่อให้การดึงข้อมูลมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว โปรเซสเซอร์ส่วนกลาง หรือซีพียูจะอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำตลอดเวลาในวงรอบการดึงข้อมูล และมีทั้งการเขียนและอ่านจากหน่วยความจำระหว่างวงรอบการดึงข้อมูล การทำงานของอินพุต/เอาต์พุตทั้งการอ่านและเขียนลงหน่วยความจำจะจำผ่าน DMA โดยปกติหน่วยความจำจะเป็นดีไวซ์สำหรับการจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ที่ซีพียูกำหนดแอ็ดเดรสและดึงข้อมูลได้โดยตรง

          การจัดการไฟล์ (File Management)           การจัดการไฟล์เป็นส่วนหนึ่งในคอมโพเนนต์ของระบบปฏิบัติการที่เห็นได้ชัดเจน คอมพิวเตอร์สามารถจัดเก็บในสื่อที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเทปแม่เหล็ก, ดิสก์, ออพติคัลดิสก์ สื่อแต่ละชนิดมีคุณสมบัติและการจัดทางกายภาพเฉพาะแบบ สื่อแต่ละชนิดจะถูกควบคุมด้วยดีไวซ์ เช่น ดิสก์ไดรฟ์, หรือเทปไดรฟ์ ซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะแบบเช่นกัน คุณสมบัติเหล่านี้รวมถึง ความเร็ว, ความจุ, อัตราการถ่ายโอนข้อมูล และวิธีการแอ็กเซสข้อมูล เพื่อความสะดวกในการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์นั้น ระบบปฏิบัติการได้กำหนดชื่อทางลอจิกว่า “ไฟล์” เพื่อเป็นชื่อแทนกลุ่มข้อมูลที่จัดเก็บในสื่อทางกายภาพ โดยที่ระบบปฏิบัติการจะแมพไฟล์ไปยังสื่อทางกายภาพและแอ็กเซสไฟล์ผ่านทางดีไวซ์ที่จัดเก็บข้อมูลนั้น ทำให้คุณใช้ชื่อไฟล์เพื่อกำหนดสิ่งที่คุณต้องการดูข้อมูลได้ทันที ไฟล์จะเป็นชุดของข้อมูลที่สัมพันธ์กันซึ่งถูกกำหนดชื่อโดยผู้สร้างไฟล์นั้น โดยปกติแล้ว ไฟล์จะแสดงโปรแกรมและข้อมูล ไฟล์ข้อมูลอาจจะเป็นตัวเลข, ตัวอักษร หรือทั้งตัวเลขและตัวอักษร ไฟล์อาจจะเป็นรูปแบบอิสระ เช่น เท็กซ์ไฟล์ หรืออาจจะเป็นรูปแบบที่ตายตัว ไฟล์ประกอบด้วยชุดของบิต, ไบต์, หรือเรกคอร์ดตามที่ผู้สร้างกำหนด ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่รับผิดชอบในกิจกรรมที่เกี่ยวกับการจัดการไฟล์ดังนี้

  • สร้างและการลบไฟล์ 
  • สร้างและการลบไดเรกทอรี 
  • สนับสนุนการจัดการไฟล์ในรูปแบบเดิม ๆ ที่ผ่านมา 
  • แมพไฟล์ไปยังสิ่งที่ใช้จัดเก็บข้อมูล 
  • แบ็คอัพหรือสร้างไฟล์สำรอง 

          การจัดการอินพุต/เอาต์พุต 
          การออกแบบระบบปฏิบัติการมีจุดมุ่งหมายข้อหนึ่งเพื่อควบคุมดีไวต์ที่เชื่อมต่ออยู่กับ คอมพิวเตอร์ ทั้งนี้เนื่องจากดีไวซ์เหล่านั้นมีความหลากหลายในเรื่องฟังก์ชันและความเร็ว การควบคุมจำเป็นต้องใช้วิธีการที่หลากหลายเช่นกัน วิธีการควบคุมเหล่านี้เรียกว่า “ระบบย่อยอินพุต/เอาต์พุต” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ kernel ที่แยกจากการจัดการหน่วยความจำที่ซับซ้อนในระบบเทคโนโลยีทางด้านดีไวซ์ได้แสดงให้เห็นข้อที่แย้งกัน 2 ด้าน ด้านแรกเทคโนโลยีทางด้านดีไวซ์ทำให้เราเห็นมาตรฐานที่มีการพัฒนาอินเทอร์เฟซของซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่เพิ่มมากขึ้น การพัฒนาทางด้านนี้ทำให้เรามีส่วนร่วมในปรับปรุงเพื่อพัฒนาดีไวซ์เพื่อนำมาใช้งานได้มากขึ้น ส่วนทางด้านอื่นเราได้เห็นดีไวซ์ที่มีความหลากหลายในการเลือกใช้ดีไวซ์ใหม่บางชิ้นก็ไม่เหมือนเดิมที่มีอยู่ เป็นสิ่งท้าทายที่ทำให้เราสามารถเลือกดีไวซ์ที่ต่างประเภทกันเพื่อใช้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบปฎิบัติการเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นอินพุต/เอาต์พุตพื้นฐานเช่น พอร์ต, บัส และดีไวซ์ที่หลากหลายเพียงใด ระบบปฏิบัติการมี kernel ที่จัดการกับดีไวซ์เหล่านี้ได้เป็นอย่างดี kernel ของระบบปฏิบัติการก็คือโครงสร้างที่ใช้โมดูล “ดีไวซ์ไดร์เวอร์” ดีไวซ์ไดร์เวอร์ได้แสดงถึงรูปแบบเฉพาะในการอินเทอร์เฟซระหว่างดีไวซ์กับระบบย่อยอินพุต/เอาต์พุต ในขณะที่ระบบจะมีอินเทอร์เฟซมาตรฐานระหว่างแอปพลิเคชันกับระบบปฏิบัติการอยู่แล้วนั่นเอง

ระบบย่อยอินพุต/เอาต์พุตประกอบด้วย 
  • การจัดการหน่วยความจำที่รวมทั้งบัพเพอร์ ,แคช และสพูล 
  • อินเทอร์เฟซพื้นฐานของดีไวซ์ไดร์เวอร์ 
  • ไดร์เวอร์สำหรับดีไวซ์ที่มีรูปเฉพาะ 

          การจัดการสื่อจัดเก็บข้อมูล (Storage Management)           เนื่องจากวัตถุประสงค์หลักของระบบคอมพิวเตอร์คือการเอ็กซิคิวต์โปรแกรม ในระหว่างการเอ็กซิคิวต์โปรแกรมรวมทั้งข้อมูลเหล่านี้จะใช้ต้องอยู่บนหน่วยความจำหลัก แต่เนื่องจากหน่วยความจำหลักเหล่านี้มีขนาดเล็ก และเนื่องจากระบบคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีไฟฟ้าหล่อเลี้ยง ถ้าไม่มีไฟฟ้าข้อมูลบนหน่วยความจำหลักก็จะสูญหายไปด้วย สิ่งนี้เองที่ระบบคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีสื่อจัดเก็บข้อมูล เพื่อถ่ายข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ก่อน เพื่อสะดวกในการใช้งานภายหลัง ปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ทั่วไปจะใช้ดิสก์เป็นสื่อในการจัดเก็บข้อมูลทั้งโปรแกรมและข้อมูล โปรแกรมส่วนใหญ่ทั้งที่เป็นตัวคอมไพล์, ตัวเอดิเตอร์, ตัวแปลภาษา และอื่น ๆ จะถูกโหลดขึ้นสู่หน่วยความจำหลักก่อน เพื่อทำงานกับหน่วยความจำโดยตรง และมีการจัดเก็บข้อมูลเป็นระยะเมื่อคุณสั่งให้จัดเก็บและระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันที่มีระบบปฏิบัติการที่ทรงประสิทธิภาพจะมีการแปลงหน่วยจัดเก็บข้อมูลบนดิสก์ให้เป็นหน่วยความจำเสมือน ตลอดเวลาที่มีการใช้งาน และจะคืนสภาพทั้งหมดให้กับระบบก่อนการชัตดาวน์ระบบ การจัดการสื่อจัดเก็บข้อมูลที่เป็นความรับผิดชอบของระบบปฏิบัติการมีดังนี้

  • จัดการเนื้อที่ว่างบนดิสก์ 
  • จัดการตำแหน่งจัดเก็บข้อมูล ที่อาจจะกระจัดกระจาย แต่เมื่อมีการใช้งานจะต้องทำงานได้เร็ว โดยจะมีพอยเตอร์ชี้ไปยังกลุ่มข้อมูลเดียวกัน 
  • การจัดแบ่งเวลาการใช้ดิสก์

วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2559

Multipocessor System

ระบบมัลติโปรเซสเซอร์ (Multipocessor System)

          ระบบส่วนมากจะใช้โปรเซสเซอร์เพียงตัวเดียว หรือใช้ซีพียูหลักเพียงหนึ่งตัวนั่นเอง แต่ก็มีระบบที่ใช้โปรเซสเซอร์มากกว่าหนึ่งตัวที่เรียกว่า “ระบบมัลติโปรเซสเซอร์” ระบบในลักษณะนี้จะใช้การติดต่อสื่อสารในระยะใกล้, มีการใช้บัส (bus), สัญญาณนาฬิกา (clock) ,หน่วยความจำ และดีไวซ์ร่วมกัน มีเหตุผลหลายประการที่ใช้มัลติโปรเซสเซอร์ ซึ่งอาจจะมีเหตุผลดังนี้

  • เพิ่มประสิทธิภาพของเอาต์พุต การที่ใช้ระบบมัลติโปรเซสเซอร์จะทำให้ได้เอาต์พุตเร็วขึ้น ใช้เวลาน้อยลง แต่ไม่ได้หมายความว่าถ้าใช้ N โปรเซสเซอร์ แล้วงานจะเสร็จเร็วขึ้น N เท่า แต่น้อยกว่า N แน่นอน 
  • ประหยัดค่าใช้จ่ายเมื่อเปรียบเทียบกับระบบโปรเซสเซอร์เดี่ยวหลายระบบ ทั้งนี้เนื่องจากในระบบมัลติโปรเซสเซอร์สามารถแบ่งปันดีไวซ์ต่าง ๆ ได้ ถ้าโปรแกรมต่าง ๆ ต้องการข้อมูลชุดเดียวกันจะเป็นการประหยัดเมื่อเก็บไว้บนดิสก์เดียวกันแล้วแชร์ให้ใช้งานร่วมกันดีกว่าการใช้ดิสก์ระบบละหนึ่งตัวโดยมีข้อมูลชุดเดียวกัน 
  • ความน่าเชื่อถือของระบบ เนื่องจากถ้ามีโปรเซสเซอร์ใดทำงานผิดพลาด หรือทำงานไม่ได้ โปรเซสเซอร์ตัวอื่นก็สามารถทำงานทดแทนได้ทันที โดยรับส่วนแบ่งมาช่วยกัน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าระบบใช้โปรเซสเซอร์ 10 ตัว แล้วมีตัวหนึ่งที่ไม่ทำงาน โปรเซสเซอร์อีก 9 ตัวจะแบ่งงานของตัวนั้นไปทำต่อ ซึ่งถึงแม้ว่าระบบจะช้าลงไป 10 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็ดีกว่าทำงานไม่ได้ทั้งระบบ การกระทำลักษณะนี้เรียกว่า “Graceful Degradation” ส่วนระบบที่ออกแบบมาสำหรับ Graceful Degradation นี้เรียกว่า “Fault-Tolerant”

วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559

โปรแกรมจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ Virtualbox

โปรแกรมจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ Virtualbox




1. Virtualbox คืออะไร
          Virtualbox เป็นโปรแกรมจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมาอีกเครื่องหนึ่งภายในเครื่องของเรามีการแบ่งทรัพยากร  เช่น  CPU,RAM,HDD,VGA  memory  จากเครื่องหลักไปยังเครื่องที่จำลอง  วุตถุประสงค์เพื่อลงระบบปฏิบัติการ  หรือ OS  อีกตัวหนึ่งเอาไว้ใช้งานบางอย่าง ยกตัวอย่างเช่น เรามีโปรแกรมที่ต้องใช้งานอยู่เป็นประจำที่มันรันได้เฉพาะบน Windows XP เท่านั้น แล้ววันหนึ่งคอมเก่าเราเสียหรือมีเหตุอันใดที่ต้องเปลี่ยนมาใช้ Vista หรือ 7 แล้วเราต้องใช้โปรแกรมนั้นด้วย เราก็ใช้เจ้า Virtual box นี่แหละในการจำลองคอมพิวเตอร์ขึ้นมาอีกเครื่องหนึ่งภายใต้ Windows 7 แล้วติดตั้ง Windows XP ลงไปแล้วก็ทำงานกับโปรแกรมที่เรามีอยู่ได้ 

2.  โปรแกรมที่มีลักษณะคล้าย ๆ กับ Virtualbox  มีอะไรบ้าง
  • โปรแกรม VM Ware
  • Emulator  คืออะไร
          Emulator  คือ โปรแกรมจำลองเครื่องจักรเสมือน เป็นโปรแกรมที่จะจำลองการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆบน PC Computer เช่น Emulator ที่ใช้จำลองเครื่องเล่นเกมอย่าง Play station ให้เล่นได้บน PC computer หรือ Emulator ที่ใช้จำลองการทำงานของมือถือบน PC computer 

NTFS และ FAT

การเปรียบเทียบระบบแฟ้มระหว่าง NTFS และ FAT

          ระบบแฟ้มคือโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการจัดระเบียบข้อมูลที่อยู่ในฮาร์ดดิสก์ ถ้าคุณกำลังติดตั้งฮาร์ดดิสก์ใหม่ คุณจำเป็นต้องแบ่งพาร์ติชันและฟอร์แมต ฮาร์ดดิสก์ดังกล่าวโดยใช้ระบบแฟ้มก่อนที่คุณจะเริ่มการจัดเก็บข้อมูลหรือโปรแกรมได้ ใน Windows ตัวเลือกระบบแฟ้มสามชนิดที่คุณต้องเลือกได้แก่ NTFS, FAT32 และ FAT โดย FAT เป็นระบบแฟ้มที่เก่ากว่าและไม่ค่อยมีการใช้กัน (หรือที่รู้จักกันว่า FAT16)

NTFS

NTFS เป็นระบบแฟ้มที่ต้องการสำหรับ Windows รุ่นนี้ NTFS มีข้อดีที่เหนือกว่าระบบแฟ้ม FAT32 รุ่นก่อนหน้าหลายประการ ได้แก่
  • ความสามารถในการกู้คืนโดยอัตโนมัติจากข้อผิดพลาดบางอย่างที่เกี่ยวกับดิสก์ ในขณะที่ FAT32 ไม่สามารถทำได้
  • การสนับสนุนที่ได้รับการปรับปรุงสำหรับฮาร์ดดิสก์ที่ใหญ่ขึ้น
  • ความปลอดภัยมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากคุณสามารถใช้สิทธิ์และ การเข้ารหัสลับ เพื่อจำกัดการเข้าถึงแฟ้มบางแฟ้มสำหรับผู้ใช้ที่ได้รับการอนุมัติเท่านั้น

FAT32

          FAT32 และ FAT ที่ใช้กันน้อยกว่าถูกใช้ในระบบปฏิบัติการของ Windows รุ่นก่อนหน้านี้ รวมถึง Windows 95, Windows 98 และ Windows Millennium Edition FAT32 ไม่มี ความปลอดภัยที่ระบบ NTFS จัดให้ ดังนั้นถ้าคุณมี พาร์ติชัน หรือ ไดรฟ์ข้อมูล ของ FAT32 ในคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้รายใดที่ได้เข้าถึงคอมพิวเตอร์ของคุณจะสามารถอ่านแฟ้มใดๆ ก็ได้บนระบบแฟ้มนี้ FAT32 ยังมีข้อจำกัดด้านขนาด คุณ ไม่สามารถสร้างพาร์ติชันของ FAT32 ที่มากกว่า 32GB ใน Windows รุ่นนี้ได้ และคุณไม่สามารถเก็บแฟ้มที่มีขนาดใหญ่กว่า 4GB บนพาร์ติชันของ FAT32 ได้
          เหตุผลสำคัญที่ใช้ FAT32 ก็เนื่องจากคุณมีคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวที่บางครั้งเรียกใช้งาน Windows 95, Windows 98 หรือ Windows Millennium Edition และในช่วงเวลาอื่นได้เรียกใช้งาน Windows รุ่นนี้ ซึ่งเรียกกันว่า การกำหนดค่าแบบ มัลติบูต หากเป็นกรณีเช่นนี้แล้ว คุณจะต้องติดตั้งระบบปฏิบัติการรุ่นก่อนหน้านี้บนพาร์ติชัน FAT32 หรือ FAT และตรวจสอบให้แน่ใจว่าพาร์ติชันดังกล่าวเป็น พาร์ติชันหลัก (ที่สามารถโฮสต์ระบบปฏิบัติการได้) พาร์ติชันเพิ่มเติมที่คุณจะต้องเข้าถึงเมื่อใช้ Windows รุ่นก่อนหน้านี้ก็จะต้องได้รับการฟอร์แมตด้วยระบบแฟ้ม FAT32 ด้วย ทั้งนี้ Windows รุ่นก่อนหน้าเหล่านี้สามารถเข้าถึงพาร์ติชัน NTFS หรือไดรฟ์ข้อมูลผ่านทางเครือข่ายได้ ไม่ใช่บนคอมพิวเตอร์ของคุณ

วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2559

OpenSource คืออะไร

          OpenSource คือ กลุ่ม software ที่เปิดเผย source code ของโปรแกรม ทำให้สามารถแก้ไข ดัดแปลง source code ได้หมด ซึ่งเป็นการให้สิทธิเสรีแก่ผู้ที่จะนำไปใช้เพื่อการพัฒนาซอฟต์แวร์ร่วมกันใน ลักษณะของสังคมซอฟต์แวร์

ข้อดีของโปรแกรมแบบ OpenSource 
  1. Open Source เป็นโปรแกรมที่เปิดให้ใครก็ได้บนโลกนี้สามารถเข้ามาพัฒนาโปรแกรมได้ ดังนั้นจึงมีนักพัฒนาโปรแกรมหลายคน จึงทำให้โปรแกรมมีประสิทธิภาพสูง
  2. Open Source ช่วยให้เราประหยัดค่าใช้จ่ายได้ เพราะไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์
ตัวอย่างโปรแกรมที่เป็น Open Source ก็อย่างเช่น PHP , My SQL, Star Office เป็นต้น นอกจากโปรแกรมแล้ว ยังมีระบบปฏิบัติการ Open Sorce อย่างระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนามาใช้ทดแทนวินโดวส์ของไมโครซอฟต์นั่นเอง

วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2559

Time-Sharing System

ระบบแบ่งเวลา (Time-Sharing System)

          ในสมัยแรกเริ่มของการใช้คอมพิวเตอร์ ผู้ใช้จะต้องจองเวลาและครอบครองเครื่องนั้นแบบสมบูรณ์แต่เพียงผู้เดียว นั่นหมายความว่าผู้ใช้นั้นสามารถทำอะไรก็ได้ในเวลาที่เขาครอบครองอยู่ แต่เนื่องจากเครื่องมีราคาแพงและความต้องการที่ใช้คอมพิวเตอร์ให้ได้ประโยชน์สูงสุด แทนที่จะให้ผู้ใช้มานั่งคิดและแก้ไขปัญหาหน้าคอมพิวเตอร์นั้น ทำให้ผู้ใช้ต้องเซ็ตอัพการ์ดควบคุมให้ครอบคลุมผลลัพธ์ทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เป็นผลให้ผู้ใช้แทบจะไม่ได้เห็นคอมพิวเตอร์เลย ทำให้มีการคิดค้นเทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ โดยระบบแบ่งเวลา (Time-Sharing) หรือมัลติทาสกิ้ง (Multitasking) เป็นศาสตร์ที่ขยายระบบมัลติโปรแกรมมิ่ง ที่ทำให้สามารถรันโปรแกรมได้หลายงาน โดยซีพียูจะทำหน้าที่สับเปลี่ยนการรันงานไปมา แต่การสับเปลี่ยนทำด้วยความเร็วสูงทำให้ผู้ใช้มีความรู้สึกเหมือนอินเทอร์แอ็กทีฟโดยตรง (Interactive) กับโปรแกรมของตนเองระบบแบ่งเวลาเป็นอินเทอร์แอ็กทีฟที่ผู้ใช้จะติดต่อโดยตรงกับเครื่องผ่านทางเทอร์มินอล (terminal) ที่ประกอบด้วยอุปกรณ์รับข้อมูล ( เช่น เมาส์, คีย์บอร์ด) และอุปกรณ์แสดงผล (เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์) ผู้ใช้สามารถสั่งให้ระบบ หรือโปรแกรมทำงานได้ทันที (หรืออาจจะล่าช้าไปบ้างทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับ ขนาดของงาน, ขีดความสามารถของเครื่อง, ปริมาณงานในระบบ และลำดับความสำคัญของงานก่อนหลัง เป็นต้น) ระบบปฏิบัติการที่มีการแบ่งเวลาจะต้องมีการจัดเวลาซีพียูและมัลติโปรแกรมมิ่งเป็นส่วนย่อย ๆ เพื่อติดต่อกับโปรแกรมของผู้ใช้ที่โหลดไว้บนหน่วยความจำ ซึ่งในขณะที่ประมวลผลอาจจะมีความจำเป็นต้องติดต่ออุปกรณ์ภายนอกทำให้การประมวลผลหยุดชะงักเนื่องจากความเร็วของซีพียูและความเร็วของอุปกรณ์ไม่เหมาะสมกัน แทนที่จะให้ซีพียูหยุดรอ ระบบปฏิบัติการจะสับเปลี่ยนให้ซีพียูทำโปรแกรมส่วนอื่นต่อไป ระบบปฏิบัติการแบบแบ่งเวลาจะมีความซับซ้อนกว่าระบบปฏิบัติการแบบมัลติโปรแกรมมิ่ง โดยระบบมัลติโปรแกรมมิ่งจะโหลดโปรแกรมหลายโปรแกรมไว้บนหน่วยความจำพร้อมกัน แต่เนื่องจากความจำมีน้อยทำให้มีการนำไปเก็บบนดิสก์เพิ่มเติม และเพื่อให้เวลาตอบสนอง (response time) อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ระหว่างที่มีการเปลี่ยนไปมาระหว่างหน่วย ความจำกับดิสก์ ทำให้ต้องมีการจัดการจัดการ สำหรับเป้าหมายนี้โดยใช้หน่วยความจำเสมือน (Virtual Memory) ซึ่งเป็นเทคนิคที่ทำให้การประมวลผลของงานดำเนินได้ทั้งที่อาจจะมีหน่วยความจำไม่เพียงพอ ซึ่งข้อได้เปรียบที่เห็นได้ชัดคือโปรแกรมสามารถมีขนาดใหญ่กว่าหน่วยความจำทางกายภาพ แต่ในระบบแบ่งเวลาจะต้องมีการจัดการระบบไฟล์ ระบบไฟล์ต้องอาศัยดิสก์ ดังนั้นจึงต้องมีการจัดการ นอกจากนี้ระบบแบ่งเวลาต้องมีกลไกในการประมวลผลพร้อมกันหลายโปรแกรม ซึ่งจะต้องมีการจัดเวลาซีพียู ต้องมีการจัดลำดับงาน เพื่อให้มั่นใจได้ถึงลำดับงานที่ถูกต้องนั่นเอง รวมถึงปัญหาขัดแย้งอุปกรณ์ในลักษณะ deadlock ทั้งมัลติโปรแกรมมิ่งและระบบแบ่งเวลาเป็นศาสตร์ของระบบปฏิบัติการยุคใหม่ที่น่าติดตาม

วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2559

Internet, Intranet and Extranet

อินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต และเอ็กซ์ทราเน็ต (Internet, Intranet and Extranet)

          ในปัจจุบันนี้คอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตของคนเรามากขึ้น และที่จะกล่าวถึงนี้คือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ในยุคแรกของคอมพิวเตอร์นั้นจุดประสงค์ก็คือเพื่อ ใช้ในการทำงานด้านการคำนวณตัวเลข ซึ่งมีข้อดีกว่ามนุษย์เราคือ สามารถคำนวณได้เร็วกว่าโดยที่จะเกิดข้อผิดพลาดนั้นมีน้อยกว่ามนุษย์ ซึ่งในยุคของไอทีนี้คอมพิวเตอร์นั้นได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว และคอมพิวเตอร์นั้นมีด้วยกัน 4 ประเภทคือ ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ไมโครคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ การทำงานซึ่งประกอบไปด้วยคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันภายในกลุ่มนั้นเราเรียกว่า เครือข่าย (Network)

          ปัจจุบันนี้ระบบเน็ตเวิร์กหรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งขององค์และองค์กรและสถาบันการศึกษาไปแล้ว การใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ทั้งไฟล์ เครื่องพิมพ์ การส่ง E-mailภายในองค์กรหรือ ระบบอินทราเน็ต การเชื่อมต่อระยะไกลด้วยระบบ Remote Access การประชุมผ่านวีดีโอ (VideoConference)สิ่งเหล่านี่ต้องใช้ระบบเน็ทเวิร์กเป็นพื้นฐานในการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกันทั้งสิ้น ระบบเน็ตเวิร์กจะหมายถึงการนำคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องขึ้นไปมาเชื่อมต่อกัน เพื่อที่จะทำการแชร์ข้อมูล และทรัพยากรร่วมกัน ซึ่งเราสามารถให้ความหมายของระบบเครือข่ายหรือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ดังนี้

          ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) คือระบบที่มีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องเชื่อมต่อกันโดยใช้สื่อกลาง และสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันและกันได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทรัพยากร (Resource) ที่มีอยู่ในเครือข่ายร่วมกันได้ เช่น เครื่องปริ้น ซีดีรอม สแกนเนอร์ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น การใช้ทรัพยากรเหล่านี้ร่วมกันทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายมาก เมื่อมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่น ๆ ที่อยู่ห่างไกล เช่น ระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลได้กับคนทั่วโลก โดยใช้แอพพลิเคชั่น เช่น เว็บ อีเมล FTP เป็นต้น

ระบบเครือข่ายมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภทคือ 

  1. เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network)
    LAN (Local Area Network) เป็นรากฐานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วไป กล่าวคือ เกือบ ๆ ทุกเครือข่ายต้องมี LAN เป็นองค์ประกอบ เครือข่ายแบบ LAN อาจเป็นได้ตั้งแต่เครือข่ายแบบง่าย ๆ เช่น มีคอมพิวเตอร์สองเครื่องเชื่อมต่อกันด้วยสายสัญญาณไปจนถึงเครือข่ายที่ซับซ้อน เช่น มีคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องและมีอุปกรณ์เครือข่ายอื่น ๆ อีกมาก แต่ลักษณะสำคัญของ LAN คือ เครือข่ายจะครอบคลุมพื้นที่จำกัด โดยรูปที่แสดงไว้นั้นจะประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์สี่เครื่อง และมีเครื่องพิมพ์ที่แชร์กันได้ เครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ในการจัดการเครือข่าย ซึ่งเครือข่ายจะรวมกันอยู่ในห้องปฏิบัติการ

  2. เครือข่ายบริเวณเมืองใหญ่ (Metropolitan Area Network)
    MAN (Metropolitan Area Network)ซึ่งเป็นเครือข่ายแบบ WAN ที่มีระยะห่างไม่มากนัก เช่น เป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงภายในเขตเมือง หรือย่านใจกลางธุรกิจ (Centralised Business District – CBD) เป็นต้น การเชื่อมโยงแบบ MAN ปกติแล้วจะเป็นการเชื่อมโยงระหว่างตึกต่างๆ ด้วยการเชื่อมโยงความเร็วสูงผ่านสายใยแก้วนำแสง และเป็นระบบเครือข่ายสาธารณะที่สามารถทำการเช่าใช้งานจากผู้ให้บริการได้ทันที

  3. เครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network)WAN (Wide Area Network) ตรงข้ามกับ LAN เครือข่ายบริเวณกว้างหรือ WAN (อ่านว่า แวน) เป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมพื้นที่บริเวณกว้าง หรืออาจจะครอบคลุมทั่วโลกก็ได้ ตัวอย่างเช่น เครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เรารู้จักกันดี WAN จะใช้สำหรับการเชื่อมต่อระหว่าง LAN ที่อยู่ห่างไกลกันเช่น การเชื่อมต่อเครือข่ายของสำนักย่อยที่อยู่ห่างไกลกัน เป็นต้น ดังรูปที่แสดงลักษณะของเครือข่ายแบบ WAN  


นอกจากนี้เรายังสามารถแบ่งประเภทของระบบ LAN ได้อีก 2 แบบด้วยกันคือ

1. Peer to Peer           ระบบเครือข่ายแบบ Peer to Peer เป็นระบบเครือข่ายขนาดเล็ก เหมาะสำหรับหน่วยงาน ที่มีคอมพิวเตอร์น้อยกว่า 10 เครื่อง ระบบ Peer to Peer นี้ คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง สามารถเข้าไปใช้ไฟล์ที่เก็บบนเครื่องไหนก็ได้ ซอรฟ์แวร์ที่ใช้คือ Windows for Workgroups, Windows 95,98,2000 การติดตั้งเพียงแต่เพิ่มอุปกรณ์ที่เรียกว่า Lan Card ในแต่ละเครื่องคอมพิวเตอร์ และมีต่อสายแลน เข้าไปสู่ อุปกรณ์ที่เป็นตัวกลาง ซึ่งเรียกว่า HUB ข้อดีของการต่อแบบ Peer to Peer ท ประหยัดค่าใช้จ่ายเมื่อเทียบกับการต่อ Network แบบอื่น ๆ ท สามารถแชร์ข้อมูล เครื่องพิมพ์ ของแต่ละเครื่องได้ ท ง่ายในการติดตั้ง และสามารถขยายต่อไปในอนาคตได้ดี

2. Client / Server           ระบบเครือข่ายแบบ Client / Server มีคอมพิวเตอร์หลักเรียกว่า File Server (ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมในการเก็บข้อมูล ทำให้สะดวกในการบริหารข้อมูล) File Server นี้จะต้องเปิดทิ้งไว้ ห้ามปิดในระหว่างการใช้งาน ส่วนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานทั่ว ๆ ไปเราเรียกว่า Work Station สำหรับอุปกรณ์ที่จำเป็นในการติดต่อระบบเครือข่าย คือ สายเคเบิล และการ์ดเครือข่าย (LAN Card) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการไหล ของข้อมูล นอกจากนี้ยังต้องมี HUB ซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการกระจายสัญญาณไปตาม Work Station ต่าง ๆ ซอร์ฟแวร์ที่เป็นที่นิยมในระบบเครือข่ายคือ Netware, Windows NT, Unix เป็นต้น ข้อดีของการต่อแบบ Client / Server ท สามารถแชร์ข้อมูล เครื่องพิมพ์ ของแต่ละเครื่องได้ ท มีระบบ Security ที่ดีมาก ท รับส่งข่าวสารในลักษณะของ Email ได้ดี ท สามารถจัดสรร แบ่งปันการใช้ทรัพยากรได้จากจุดศูนย์กลาง

ประโยชน์ของระบบเครือข่าย
  1. สามารถแชร์ข้อมูลใช้ร่วมกันได้ ข้อมูลต่าง ๆ ในแต่ละเครื่องภายในระบบ หากมีผู้อื่นต้องการใช้ คุณสามารถแชร์ให้ผู้อื่นนำไปใช้ได้ หรือข้อมูลที่เป็นส่วนรวมก็สามารถแชร์ไว้เพื่อให้หลาย ๆ ฝ่ายนำไปใช้งานได้ซึ่งก็จะช่วยทำให้ประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บและช่วยให้การปรับปรุงข้อมูล ในระบบง่ายขึ้นและไม่เกิดความขัดแย้งของข้อมูลด้วย เพราะข้อมูลมีอยู่ชุดเดียว (ตัวอย่าง) 
  2. สามารถแชร์อุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ ซิปไดร์ฟ เป็นต้น โดยที่ไม่จำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์เหล่านั้นมาติกตั้งกับทุก ๆ เครื่อง เช่น ในบ้านคุณมีเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด 4 เครื่อง อาจจะซื้อเครื่องพิมพ์มาเพียงตัวเดียวและแชร์เครื่องพิมพ์นั้นเพื่อใช้ร่วมกันก็ได้ (ตัวอย่าง) 
  3. สามารถใช้โปรแกรมร่วมกันหลาย ๆ เครื่องได้ เช่น ในห้อง LAB คอมพิวเตอร์ที่มีจำนวนเครื่องในระบบจำนวน 30 เครื่อง คุณก็สามารถซื้อโปรแกรมเพียงแค่ 1 ชุดและสามารถใช้งานร่วมได้ ซึ่งจะทำให้สะดวกในการดูแลรักษาด้วย 
  4. การสื่อสาร ในระบบเครือข่ายผู้ใช้สามารถสื่อสารกับเครื่องอื่น ๆ ในระบบได้ เช่น อาจจะส่งข้อความจากเครื่ององคุณไปยังเครื่องของคนอื่น ๆ ได้ นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้ E-mail ส่งข้อความ ข่าวสารต่าง ๆ ภายในสำนักงานได้อีก เช่น แจ้งกำหนดการต่าง ๆ แจ้งข้อมูลต่าง ๆ ให้ทุก ๆ คนทราบ โดยไม่ต้องพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์เพื่อแจกจ่าย ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกทางหนึ่ง 
  5. การแชร์อินเตอร์เน็ต ภายในระบบเครือข่ายคุณสามารถแชร์อินเตอร์เน็ตเพื่อใช้ร่วมกันได้ โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องซื้อ Internet Account สำหรับทุก ๆ เครื่องและไม่จำเป็นต้องติดตั้งโมเด็มทุกเครื่อง ซึ่งก็จะช่วยให้คุณประหยัดค่าใช้จ่าย
  6. เพื่อการเรียนรู้ การที่คุณได้ทดสอบใช้งานระบบเครือขายจะทำให้คุณสามารถเรียนรู้และคุ้นเคย กับระบบเครือจ่ายมากขึ้น ทำให้คุณมีประสบการณ์ในระบบเครือข่ายมากขึ้นและจะทำให้คุณรู้สึกว่ามันไม่ใช่เรื่องยากเลย

Networking

เน็ตเวิร์ค (Networking)

          ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่เพิ่มเติมในการจัดการทางด้านเน็ตเวิร์ค โดยเฉพาะแบบกระจายที่เป็นการทำงานของโปรเซสเซอร์ที่ไม่มีการแชร์หน่วยความจำ, ดีไวซ์ต่าง ๆ , หรือแม้แต่สัญญาณนาฬิกา โดยที่แต่ละโปรโซสเซอร์จะมีหน่วยความจำ และสัญญาณนาฬิกาเป็นของตัวเองและมีการติดต่อระหว่างโปรเซสเซอร์ผ่านทางสายสื่อสาร โดยใช้ระบบบัสที่มีความเร็วสูง หรืออาจจะใช้คู่สายโทรศัพท์สาย UTP ก็ได้

          โปรเซสเซอร์ในระบบจะเชื่อมต่อผ่านเน็ตเวิร์คซึ่งสามารถปรับแต่งได้หลายรูปแบบ การออกแบบเน็ตเวิร์คจะต้องคำนึงถึงเส้นทางการเดินของข้อมูล, จุดเด่นจุดด้อยในการเชื่อมต่อแบบนั้น, ข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้

ระบบป้องกัน(Protecion System) 
          ระบบปฏิบัติการจำเป็นต้องมีการป้องกันในกิจกรรมหรือโปรเซสที่อาจจะเกิดข้อผิดพลาดได้ เช่น ระบบที่มีการเบิกถอนเงินในสาขาต่าง ๆ พร้อมกัน เป็นต้น จุดประสงค์หลักของการนี้จะต้องมีกลไกที่ทำให้ผู้ใช้มั่นใจได้ว่า ทั้งไฟล์, หน่วยความจำ, ซีพียู, และรีซอร์สอื่นๆ จะมีโปรเซสเกิดขึ้นได้เฉพาะคนที่ได้รับอนุญาตจากระบบเท่านั้น

          คำว่าการป้องกัน หมายถึงกลไกที่ใช้ในการควบคุมการแอ็กเซสโปรแกรม, การโปรเซสและควบคุมผู้ใช้จากดีไวซ์ที่กำหนดโดยระบบคอมพิวเตอร์ กลไกนี้จะต้องกำหนดคุณสมบัติของการควบคุมและการบังคับอีกด้วย รีซอร์สที่ไม่ได้มีการป้องกันจะไม่สามารถป้องกันการใช้งานจากผู้ใช้ที่ไม่ได้รับสิทธิ์ได้ ดังนั้นระบบป้องกันก็คือระบบที่ควบคุมการใช้งานจากผู้มีสิทธิ์ และไม่มีสิทธิ์

ระบบตัวแปลคำสั่ง           ตัวแปลคำสั่งนี้เป็นการอินเทอร์เฟซระหว่างผู้ใช้กับระบบปฏิบัติการ บางระบบปฏิบัติการจะมีตัวแปลคำสั่งอยู่ใน kernel เลย แต่ในบางระบบ เช่น DOS และ UNIX จะมีโปรแกรมพิเศษที่รันเมื่องานเริ่มต้น หรือเมื่อผู้ใช้เริ่มล็อกเข้าระบบครั้งแรก โดยในคำสั่งส่วนใหญ่จะมีคอนโทรลสเตทเมนต์ที่คอยส่งไปให้ระบบปฏิบัติการ เมื่อเริ่มงานใหม่ในแบบงานแบ็ตซ์ หรือเมื่อผู้ใช้ล็อกเข้าระบบจะมีการเอ็กซิคิวซ์โปรแกรมที่อ่านและแปลคำสั่งคอนโทรบสเตทเมนต์อย่างอัตโนมัติ คนทั่วไปรู้จักในชื่อ shell จะมีฟังก์ชันที่ธรรมดามากคือ “นำคำสั่งต่อไปเข้ามาเอ็กซิคิวต์”

เซอร์วิสของระบบปฏิบัติการ (Operating System Services) เซอร์วิสพื้นฐานที่น่าสนใจของระบบปฏิบัติการมีดังนี้

  • การเอ็กซิคิวต์โปรแกรม ระบบจะต้องโหลดโปรแกรมและข้อมูลลงสู่หน่วยความจำก่อนใช้งาน และจะสิ้นสุดการเอ็กซิคิวต์ได้ตามปกติ ถ้าผิดพลาดจะแสดงแมสเสจแจ้งเตือน 
  • การปฏิบัติกับอินพุต/เอาต์พุต ระบบอาจจะความต้องการติดต่อหรือต้องการใช้อินพุต/เอาต์พุต หรือใช้ดีไวซ์พิเศษ 
  • การจัดการกับระบบไฟล์ สำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการ 
  • การติดต่อสื่อสาร จะช่วยสื่อสารระหว่างโปรเซส การสื่อสารอาจจะใช้หน่วยความจำที่แชร์อยู่ หรืออาจใช้เทคนิคที่เรียกว่า “แมสเสจพาสซิง” ซึ่งเป็นการย้ายเพ็กเกจของข้อมูลระหว่างโปรเซสในระบบปฏิบัติการ 
  • การตรวจจับข้อผิดพลาด ช่วยป้องกันข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น ระบบปฏิบัติการจะแสดงแอ็กชันที่เหมาะสมเพื่อแก้ไขให้ต่อไป 
  • การแชร์รีซอร์ส ในกรณีมีงานเข้ามาหลายงานในเวลาเดียวกัน ระบบปฏิบัติการจะต้องการมีแชร์รีซอร์สให้เหมาะสม มีฟังก์ชันสำหรับจัดเวลาของซีพียู 
  • การป้องกัน ระบบปฏิบัติการจะให้อำนาจในการใช้รีซอร์สในลักษณะรหัสผ่าน 

System Calls 

System Calls จัดเป็น 5 กลุ่มหลักคือ

  • การควบคุมโปรเซส กลุ่มนี้เป็นการควบคุมโปรเซสทั้งหมด ขณะที่กำลังเอ็กซิคิวต์โปรแกรมอยู่นั้นอาจจะต้องการหยุดโปรเซสในลักษณะการหยุดปกติ, การหยุดแบบไม่ปกติ, โหลดข้อมูลเพิ่มเติม ฯลฯ 
  • การจัดการกับไฟล์ จะจัดการเกี่ยวกับไฟล์ทั้งหมด 
  • การจัดการดีไวซ์ กลุ่มนี้เป็นการจัดการดีไวซ์ในระบบเมื่อมีโปรเซส ระบบอาจจะเรียกใช้ดีไวซ์เพิ่มเติม 
  • การบำรุงรักษาข้อมูล กลุ่มนี้จะตอบสนองงานหลักของระบบปฏิบัติการ ในระบบส่วนใหญ่จะมีการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างผู้ใช้กับระบบปฏิบัติการ 
  • การติดต่อสื่อสาร การติดต่อสื่อสารระหว่างโปรเซสมี 2 รูปแบบ คือระหว่างโปรเซสในระบบคอมพิวเตอร์เดียวกัน และการติดต่อสื่อสารระหว่างระบบคอมพิวเตอร์เข้ามเน็ตเวิร์คเอง กลุ่มนี้จะเป็นการเชื่อมต่อ ,รับ-ส่งแมสเสจ เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2559

Shareware คืออะไร

          โปรแกรมในปัจจุบันมีหลากหลายมากมาให้เลือกใช้ตามความต้องการ ซึ่งมีทั้งแบบเสียค่าใช้จ่ายและไม่มีค่าใช้จ่าย สำหรับผู้ที่ต้องการทดลองใช้โปรแกรมก่อนตัดสินใจซื้อ การเลือกใช้โปรแกรมแบบเสียค่าใช้จ่ายแบบฟรีในช่วงแรก หรือ Shareware ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถช่วยให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

Shareware คืออะไร?
          Shareware คือโปรแกรมประเภททดลองใช้งาน ปกติแล้วจะหมายถึงโปรแกรมรุ่นทดลองใช้ ซึ่งจะมีคุณสมบัติเหมือนกับเวอร์ชั่นเต็มทุกประการ แต่จะมีความแตกต่างกันตรงที่คุณสมบัติบางอย่างอาจถูกตัดออกไป หรือบางโปรแกรมจะเป็นลักษณะของการจำกัดเวลาหรือจำนวนครั้งในการใช้งาน แต่ไม่จำกัดคุณสมบัติ เช่น ใช้ได้ 30 ครั้ง หรือ 30 วัน เป็นต้น ซึ่งแตกต่างจาก Freeware ที่เป็นโปรแกรมแจกจ่ายให้ใช้ฟรีอย่างไม่มีข้อจำกัด หากต้องการใช้โปรแกรมแบบไม่มีข้อจำกัด ผู้ใช้ก็ต้องจ่ายเงินเพื่อซื้อโปรแกรมเวอร์ชั่นสมบูรณ์จากผู้พัฒนา


ข้อดีหรือประโยชน์ของ Shareware ก็คือ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินก็สามารถใช้โปรแกรมได้ และสามารถทดลองใช้เพื่อศึกษาข้อมูลของโปรแกรม แล้วนำไปเปรียบเทียบหรือประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อเลือกใช้โปรแกรมที่คิดว่าเหมาะสมกับงาน

วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2559

Freeware คืออะไร

Freeware คืออะไร ซอฟต์แวร์ประเภทที่ให้ใช้งานได้ฟรี

          Freeware คือ ซอฟต์แวร์ประเภทที่ให้ใช้งานได้ฟรี แต่บางครั้งมีข้อจำกัดบางอย่าง เช่น ใช้ได้เฉพาะส่วนบุคคล ห้ามใช้ในเชิงพาณิชย์ หากต้องการใช้เชิงพาณิชย์ จะมีเวอร์ชันที่ผู้พัฒนาเตรียมไว้ขาย ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ต้องระวังหากใช้ในองค์กร ควรจะศึกษาไลเซนต์ให้ดีเสียก่อน ยกตัวอย่างไลเซนส์ของ Adobe Reader โปรแกรมที่ใช้อ่านไฟล์ PDF เป็น Freeware อนุญาตให้ใช้งานได้ฟรี แต่หากไม่อ่านไลเซนส์ดีๆ จะผิดไลเซนส์ได้ง่าย เพราะ Adobe Reader ไม่อนุญาตให้ติดตั้งผ่าน Server ได้ นั่นคือ เราไม่สามารถนำตัวติดตั้งมาวางไว้บน Server ขององค์กรแล้วให้พนักงานดาวน์โหลดได้ หากทำเช่นนั้นถือว่าผิดไลเซนส์

          ความแตกต่างระหว่าง Open Source Software กับ Freeware คือ Freeware ถึงแม้จะฟรี แต่หากใช้งานจำเป็นต้องอ่าน EULA (End User License Agreement) ให้ดีเสียก่อน EULA คือข้อความอธิบายไลเซนส์ เป็นขั้นตอนหนึ่งที่พบบ่อยๆ ตอนติดตั้งซอฟต์แวร์ เราจำเป็นต้องกดยอมรับก่อนแล้วจึงจะทำการติดตั้งได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีใครยอมอ่าน แต่สำหรับ Open Source Software เราสามารถมั่นใจได้ว่าจะไม่มีอะไรแอบแฝง ไม่มีข้อบังคับในการใช้งาน ทำให้ใช้งานสะดวกกว่า Freeware และข้อแตกต่างอีกอย่างระหว่าง Open Source Software กับ Freeware คือ Freeware นั้นคือ Open Source Software จะมี source code ติดมาด้วย ทำให้ผู้ใช้สามารถปรับปรุงแก้ไข Software ได้ด้วยตัวเอง ต่าง Freeware ซึ่งไม่มี source code ติดมา
          นอกจาก Open Source Software กับ Freeware ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ให้เราใช้ได้โดยคิดค่าลิขสิทธิ์แล้วยังมีซอฟต์แวร์อีกประเภทหนึ่งที่มักได้รับความนิยมเพราะฟรีเช่นกัน นั้นคือ ซอฟต์แวร์จำพวก Crackware ซึ่งเหตุที่ Software จำพวกนี้ฟรีไม่ใช่ว่ามันไม่มีลิขสิทธิ์นะ เพียงแต่ถูกละเมิดลิขสิทธิ์ ซอฟต์แวร์ประเภทนี้หากใช้งานจะเปรียบเสมือนโจรที่ลักลอบใช้งานโดยไม่เสีย เงิน ส่วนใหญ่จะนำ Software ที่ต้องเสียค่าลิขสิทธฺ์มา Crack แล้วใช้งาน หากถูกจับในกรณีละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความผิดกฎหมายอาญา จะเสียทั้งเงิน ชื่อเสียง และเสียประวัติ

วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2559

มารู้จักแป้นพิมพ์แบบ เกษมณี( Kedmanee ) & ปัตตะโชติ( Pattachote ) กันเถอะ

เกษมณี กับ ปัตตะโชติ คืออะไร เป็นชื่อคน ชื่อสิ่งของ หรือฉายา แต่ที่แน่ ชื่อทั้ง 2 นี้อยู่ใกล้ตัวกว่าที่คุณคิด ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ตรงหน้าของคุณที่กำลังดูเว็บนี้อยู่ ใช่แล้วมันมีส่วนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ไม่ใช่จอ ซีพียู การ์ดจอ หรือเมาส์ แต่เป็น คีย์บอร์ด นั้นเอง
          ผังแป้นพิมพ์แบบเกษมณี เป็นผังแป้นพิมพ์แบบมาตรฐานที่คุ้นเคยเป็นอย่างดี ซึ่งความเป็นมานั้น คิดค้นโดยสุวรรณประเสริฐ เกษมณี ซึ่งได้ศึกษาการจัดเรียงอักษรและวรรณยุกต์ไทยที่มีอยู่มาก โดยแป้นพิมพ์สมัยก่อนของ เครื่องพิมพ์ดีดไทยสมิทพรีเมียร์แบบแป้นพิมพ์ 7 แถว นั้นจะกินเนื้อที่มากเพราะใส่อักษร 1 ตัวต่อ 1 ปุ่ม ซึ่งนำมาดัดแปลงใส่ลงไปในแป้นพิมพ์แบบมาตรฐานเพื่อลดการใช้ที่ ซึ่งตัวอักษรที่ใช้บ่อยจะอยู่ด้านล่าง ตัวอักษรที่ใช้ไม่บ่อยก็จะต้องอยู่ด้านบน ซึ่งจะพิมพ์ได้นั้นต้องกดแคร่ (Shift) เพื่อปรับเป็นตัวบน และที่สำคัญแป้นพิมพ์ลักษณะนี้ไม่ได้ใส่ตัวอักษร ฃ และ ฅ  แต่ใช้ ข และ ค ในการอ่านเสียงแทนพวกนี้แทน เนื่องจากเครื่องพิมพ์ดีดไทยสมิทพรีเมียร์แบบแป้นพิมพ์ 7 แถว นั้นไม่ได้ใส่อักษรทั้ง 2 ตัวนี้ไปด้วยนี่เอง
จาก เกษมณีสู่การพัฒนาเป็น มอก. 820 – 2538 

          สำหรับแป้นพิมพ์บนคัย์บอร์ดในปัจจุบันนี้ ก็ใช้หลักการเดียวกับแป้นพิมพ์แบบเกษมณี ซึ่งกำหนดขึ้นโดย มอก. 820 (TIS-620) จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งความพิเศษของการพัฒนานี้ก็คือตัวอักษรที่ไม่ได้ใช้อย่าง ฃ/ฅ ก็สามารถบรรจุเข้าไปได้โดยไม่ผลต่อการเปลี่ยนแปลงแป้นคีย์บอร์ดแบบสากล สำหรับมาตรฐานในปัจจุบับคือ มอก. 820 – 2538 

          ผังแป้นพิมพ์แบบปัตตะโชติ นั้น ก็ได้เกิดขึ้นมาด้วยการเรียงอักษรใหม่ พัฒนาโดย สฤษดิ์ ปัตตะโชติ เนื่องจากการวิจัยของสฤษดิ์ชี้ให้เห็นว่า แป้นพิมพ์แบบเกษมณีจะมีการใช้งานมือขวามากกว่ามือซ้าย เช่นพิมพ์คำว่า นาย / นาง / นางสาว / ระเบียบ / สงวน /สมยอมเป็นต้น คำพวกนี้กระผมได้ลองพิมพ์ดู ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ซีกขวา ที่สำคัญตัวอักษรที่ใช้ไม่บ่อยบางตัวที่คนไทยต้องกด Shift บ่อยๆ นั้นก็จะปวดนิ้วก้อยขวาเพราะถูกใช้งานหนัก ซึ่งแป้นพิมพ์ชนิดนี้จะเฉลี่ยให้ทั้งสองมือใช้งานเท่า ๆ กัน และให้ลำดับนิ้วที่ใช้บ่อยคือนิ้วชี้ แล้วไล่ลงไปที่นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อยที่ใช้งานน้อยที่สุด ซึ่งแป้นพิมพ์ชนิดนี้ ก็ได้ยอมรับจากการวิจัยของ สภาวิจัยแห่งชาติ พบว่า แป้นพิมพ์ปัตตะโชติสามารถพิมพ์ได้เร็วกว่าแป้นพิมพ์เกษมณีถึง 25.8% และยังช่วยลดอาการปวดนิ้วมือจากการพิมพ์ได้
ผังแป้นพิมพ์แบบปัตตะโชติ

          แต่ที่ไม่นิยมใช้ในปัจจุบันนั่นเพราะว่า แป้นพิมพ์แบบเกษมณี ได้ใช้งานมายาวนานกว่าแป้นพิมพ์แแบบปัตตะโชติ จึงไม่ใช้เรื่องแปลกใจที่คุณผู้อ่านจะไปลองหาแป้นพิมพ์แบบปัตตะโชติไม่เจอ และที่สำคัญคีย์บอร์ดในปัจจุบันก็ได้ถูกตั้งค่าการพิมพ์แบบเกษมณีอย่างเป็นทางการ ซึ่งจะเป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้อ่านจะมาลองดัดแปลงจากคีย์บอร์ดที่ใช้ (แม้แต่ Gaming Gear ที่ไม่ได้สกรีนภาษาไทยก็ตาม)

การติดตั้ง Ubuntu

มาเริ่มกันเลยดีกว่าค่ะ

เตรียมการก่อนการติดตั้ง Ubuntu  Desktop
  • download iso image ของ Ubuntu Desktop จาก http://www.ubuntu.com/getubuntu/download จากนั้นเขียนเป็นแผ่น CD หรือ ทำเป็นแฟรชไดร์บูท
ขั้นตอนการติดตั้ง Ubuntu Desktop
  1. ทำการ boot โดยใช้แผ่น CD ติดตั้ง Ubuntu
  2. เลือกภาษาที่ใช้ในการติดตั้ง จากนั้น คลิกที่ปุ่ม Install Ubuntu LTS
  3.  เลือก Time Zone
  4. เลือก Keyboard Layout
  5. ในขั้นตอนนี้เป็นการกำหนดตำแหน่งที่จะติดตั้งว่าต้องการให้ติดตั้งที่ใด ในที่นี้ให้เลือก
  6. พิมพ์ชื่อ username และ passworพร้อมกับตั้งชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์
                                      
  7. ตัวติดตั้งจะแสดงรายงานสรุปให้ตรวจสอบ คลิก Install เพื่อเริ่มการติดตั้ง
  8. รอจนกว่าการติดตั้งจะเสร็จ
  9.  เมื่อระบบทำการติดตั้งเสร็จระบบจะขอให้ทำการ reboot เครื่อง
  10. ระบบจะแจ้งให้ถอดแผ่น CD ที่ติดตั้งออก และ กดปุ่ม Enter
  11. หลังจากที่ระบบ Restart เสร็จก็จะพบกับ หน้าจอ Login ให้เลือก User
  12. เป็นอันเสร็จสิ้นค่ะ




ข้อมูลอ้างอิงจาก                                                                      
-  http://www.ubuntu.com/                                                
-  http://www.launchpad.net/ubuntu                                
-  http://forum.ubuntuclub.com/                                       

พระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550

ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

                มาตรา 5 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้น มิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา 6 ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะถ้านำมาตรการดังกล่าว ไปเปิดเผยโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา 7 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้น มิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา 8 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไป ใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา 9 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น โดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา 10 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา 11 ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มา ของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
                มาตรา 12 ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10
  1.  ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลังและไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
  2. เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะหรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตาม (2) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี

                มาตรา 13 ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา 7 มาตรา 8 มาตรา 9 มาตรา 10 หรือมาตรา 11 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา 14 ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  1. นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
  2. นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
  3. นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
  4. นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
  5. เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1)(2) (3) หรือ (4)

                มาตรา 14 ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 14 ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา 14
                มาตรา 16 ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
                มาตรา 17 ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
  1. ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
  2. ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษจะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร


ที่มา : http://www.amnathos.go.th/row.html

วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2559

วิธีการตั้งค่า Keyboard ภาษาไทยใน Windows 7

วิธีการตั้งค่า Keyboard ภาษาไทยใน Windows 7

     
           บทความนี้จะแนะนำการตั้งค่าและเพิ่ม Keyboard ภาษาไทยใน Windows 7 ค่ะ ทำเป็นขั้นตอนแบบ Step By Step เหมาะสำหรับมือใหม่
มาดูวิธีทำกันเลยค่ะ
วิธีการตั้งค่า Keyboard ภาษาไทยใน Windows 7
- เข้าไปที่ Start >> Control Panel
- กดเลือก Clock, Language and Region
- เลือก Region and Language
เริ่มจากการตั้งค่า Keyboard ภาษาไทย

- เลือกแท๊บ Keyboard and Language กดปุ่ม Change Keyboards
- กดปุ่ม Add เพื่อเพิ่มภาษาค่ะ
- เลือกไปที่ Thai(Thailand) >> Keyboard แล้วติ๊กเลือก Thai Kedmanee เสร็จแล้วกด OKค่ะ
- ถ้าทำถูกแล้วจะได้แบบนี้ค่ะ
-  ต่อไปตั้งค่าปุ่มตัวหนอน สำหรับการเปลี่ยนภาษา
กดไปที่แท๊บ Advanced Key Setting จากนั้นกดปุ่ม Change Key Sequence
- ในช่องแรก ให้เลือก Grave Accent (ส่วนช่องด้านหลังไม่ต้องเลือก ) กด OK ค่ะ
- ถ้าได้ผลแบบในรูป ก็เสร็จแล้วค่ะ
- ทดลองเปลี่ยน Keyboard โดยการกดปุ่มตัวหนอน หรือจะลองกดดูที่ Taskbar ก็ได้ค่ะ

วันเสาร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2559

สอนการลง Windows 7 แบบละเอียดทุกขั้นตอน

          หลายคนยังไม่เคยทำการลง Windows มาก่อน แต่วันนี้จะต้องมาลง Windows 7 เอง โดยหลังจากที่คุณได้อ่านบทความที่ผมเขียนเรียบร้อย คุณก็สามารถทำการลง Windows 7 หรือทำการติดตั้ง Windows 7 เองได้สบายๆ โดยไม่ต้องไม่เพิ่งช่างคอมพิวเตอร์ และประหยัดเงินของเราด้วย ซึ่งการลง Windows 7 นั้นลงไม่ยากเลยครับ สำหรับคนไหนที่เคยทำการลง Windows XP มาก่อน ในการลง Windows 7 , Windows 8.1 หรือแม้กระทั่งลง Windows 10 ก็จะสามารถทำได้ทุก Windows เพราะขั้นตอนในการลง Windows นั้นจะคล้ายๆกัน สำหรับแผ่น Windows สามารถหาซื้อได้ตามห้างดังๆอาทิเช่น ฟอร์จูน หรือ เซียร์รังสิตในการซื้อ Windows

สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนการลง Windows 7
  1. คอมพิวเตอร์ PC / Notebook / Laptop
  2. แผ่น DVD Windows 7 หรือ USB Boot Windows 7
  3. Driver ต่างๆของคอมพิวเตอร์ของเรา เช่น Driver VGA , Wireless , LAN   ทำการหาดาวน์โหลดเก็บไว้ก่อนการลง Windows โดยให้ดาวน์โหลดให้ตรงกับรุ่นคอมพิวเตอร์ของเรา
  4. Harddisk ที่มีขนาดมากกว่า 20 GB
  5. RAM มากกว่า 2 GB
  6. ไฟล์ Windows 7

การติดตั้ง Windows 7

  1. ทำการตั้งค่า BIOS ของ คอมพิวเตอร์ของเรา โดยทำการเปิดคอมพิวเตอร์ > จากนั้นกด ปุ่ม “Delete” บน keyboard เพื่อเข้าในหน้า Bios > จากนั้นตั้งให้ Boot จาก DVD เป็นอันดับแรก > จากนั้นทำการบันทึกค่าที่เราเปลี่ยน จากนั้นคอมพิวเตอร์จะ Restart
    หมายเหตุ : สำหรับ Notebook บางรุ่นอาจจะให้กด F2 , F10 แล้วแต่ยี่ห้อนะครับ
    Note : แต่ถ้าเราต้องการกดใช้ Boot menu เลย ทั้ง Notebook / PC ส่วนมากจะกด F12 , F10 (กดย้ำๆเลยนะครับ) เผื่อทำการเลือกเลยว่าเราจะ Boot จากอะไรในตอนเปิดคอมพิวเตอร์ โดยให้เลือกจาก DVD / USB ตามที่เราต้องการที่จะติดตั้ง Windows 7
  2. จากนั้นจะขึ้นข้อความ Press any key to boot cd or dvd ….   ให้ทำการกด Enter 1ครั้ง  หรือรัวๆเลยก็ได้แล้วแต่ครับ
  3. เริ่มเข้า Starting Windows
    install Windows 7
  4. เข้าสู่หน้า Windows 7 Setup
    Language to install : เลือก English
    Time and Currency format : เลือก (UTC+7.00)Bangkok
    Keyboard or input method  : เลือก Thai Kedmanee
    install Windows 7 Setup
  5. ทำการกด Install Now
    install Windows 7 install
  6. เลือก I accept the license terms > กด Next
    install Windows 7 Setup license
  7. ทำการเลือก Custom (advance) ในการติดตั้ง
    install Windows 7 custom
  8. ในขั้นตอนตรงนี้มี 2 กรณี
    1. กรณีแรก : กรณีเพิ่งซื้อคอมพิวเตอร์มาใหม่ และยังไม่เคยลง Windows แปลว่า Harddisk ยังไม่ได้ใช้แลยังไม่ได้แบ่ง Partition
         1.1 
    ให้ทำการกด Drive option (advanced)
         1.2 ทำการกด New > Size ให้ทำการใส่จำนวน Harddisk Drive C ที่เราอยากได้ เช่น 100 GB ก็ให้เอา 1024 คูณไป ก็จะได้ 102400 MB (ผมแนะนำให้ Drive C = 100 GB)  ส่วนที่เหลือก็ให้ทำการคลิก New อีกครั้งแล้วก็แบ่งให้หมดจะได้เป็น Drive D
    install Windows 7 new disk

         1.3 ให้ทำการเลือก Drive ที่เราแบ่งไว้ที่จะเป็น Drive : C โดยทำการคลิกบน Drive นั้นๆ และทำการกด Next
    หมายเหตุ : ไม่ต้องสนใจ Disk ที่เป็น Type : System / System Reserved
    install Windows 7 install windows

    2.
     กรณีสอง : กรณีลง Windows มาแล้ว แต่อยากทำการลง Windows 7 ใหม่
         2.1 
    ให้ทำการเลือกไปที่ Drive ที่เป็น Drive C เดิมของเราปัจจุบัน จากนั้นกด Format (โดยให้สังเกตุก่อนการ Format ว่า Drive C ของเราคือ Drive ไหน โดยให้สังเกตุจากความจุของ Harddisk หรือเราจะเข้าไปเปลี่ยน Label ของ Drive ก่อนการ Format ก็ได้ เราก็จะได้ไม่ Format ผิด Drive)
    ก่อนการ format เราต้อง Backup ข้อมูลของ Drive C ที่เราที่สำคัญของเราก่อน
    install Windows 7 format disk
         2.2 จากนั้นก็เลือก Drive C ที่เรา format ไป > กด Next
    หมายเหตุ : ไม่ต้องสนใจ Disk ที่เป็น Type : System
    install Windows 7 install windows
  9. รอทำการติดตั้ง Windows 7
    install Windows 7 watting install
  10.  ตั้งชื่อ Type a user name : ให้เราตั้งชื่อ User ในการ Login Windows  อาทิเช่น Patompon
    Type a computer name : ให้ตั้งชื่อคอมพิวเตอร์
    install Windows 7 username
  11. ทำการตั้ง Password ใส่ก็ได้ไม่ใส่ก็ได้ โดยถ้าไม่ใส่ ก็ให้ทำการกด Next ได้เลย
    install Windows 7 password
  12. ใส่ Product Key Windows 7
    install Windows 7 produckey
  13.  สำหรับใครที่ใช้ Windows 7 แท้ ให้เลือก User Recommended Settings ในการ Update Windows 7
    install Windows 7 securiry
  14. ตั้งเวลาของ Windows โดยให้เลือก
    Time zone : UTC+7 Bangkok
    install Windows 7 settime
  15.  เลือก Publish Network
    install Windows 7 publish
  16. เสร็จสิ้นการติดตั้ง Windows 7



    ที่มา : www.windowssiam.com