การเปรียบเทียบระบบแฟ้มระหว่าง NTFS และ FAT
ระบบแฟ้มคือโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการจัดระเบียบข้อมูลที่อยู่ในฮาร์ดดิสก์ ถ้าคุณกำลังติดตั้งฮาร์ดดิสก์ใหม่ คุณจำเป็นต้องแบ่งพาร์ติชันและฟอร์แมต ฮาร์ดดิสก์ดังกล่าวโดยใช้ระบบแฟ้มก่อนที่คุณจะเริ่มการจัดเก็บข้อมูลหรือโปรแกรมได้ ใน Windows ตัวเลือกระบบแฟ้มสามชนิดที่คุณต้องเลือกได้แก่ NTFS, FAT32 และ FAT โดย FAT เป็นระบบแฟ้มที่เก่ากว่าและไม่ค่อยมีการใช้กัน (หรือที่รู้จักกันว่า FAT16)
NTFS
NTFS เป็นระบบแฟ้มที่ต้องการสำหรับ Windows รุ่นนี้ NTFS มีข้อดีที่เหนือกว่าระบบแฟ้ม FAT32 รุ่นก่อนหน้าหลายประการ ได้แก่
- ความสามารถในการกู้คืนโดยอัตโนมัติจากข้อผิดพลาดบางอย่างที่เกี่ยวกับดิสก์ ในขณะที่ FAT32 ไม่สามารถทำได้
- การสนับสนุนที่ได้รับการปรับปรุงสำหรับฮาร์ดดิสก์ที่ใหญ่ขึ้น
- ความปลอดภัยมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากคุณสามารถใช้สิทธิ์และ การเข้ารหัสลับ เพื่อจำกัดการเข้าถึงแฟ้มบางแฟ้มสำหรับผู้ใช้ที่ได้รับการอนุมัติเท่านั้น
FAT32
FAT32 และ FAT ที่ใช้กันน้อยกว่าถูกใช้ในระบบปฏิบัติการของ Windows รุ่นก่อนหน้านี้ รวมถึง Windows 95, Windows 98 และ Windows Millennium Edition FAT32 ไม่มี ความปลอดภัยที่ระบบ NTFS จัดให้ ดังนั้นถ้าคุณมี พาร์ติชัน หรือ ไดรฟ์ข้อมูล ของ FAT32 ในคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้รายใดที่ได้เข้าถึงคอมพิวเตอร์ของคุณจะสามารถอ่านแฟ้มใดๆ ก็ได้บนระบบแฟ้มนี้ FAT32 ยังมีข้อจำกัดด้านขนาด คุณ ไม่สามารถสร้างพาร์ติชันของ FAT32 ที่มากกว่า 32GB ใน Windows รุ่นนี้ได้ และคุณไม่สามารถเก็บแฟ้มที่มีขนาดใหญ่กว่า 4GB บนพาร์ติชันของ FAT32 ได้
เหตุผลสำคัญที่ใช้ FAT32 ก็เนื่องจากคุณมีคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวที่บางครั้งเรียกใช้งาน Windows 95, Windows 98 หรือ Windows Millennium Edition และในช่วงเวลาอื่นได้เรียกใช้งาน Windows รุ่นนี้ ซึ่งเรียกกันว่า การกำหนดค่าแบบ มัลติบูต หากเป็นกรณีเช่นนี้แล้ว คุณจะต้องติดตั้งระบบปฏิบัติการรุ่นก่อนหน้านี้บนพาร์ติชัน FAT32 หรือ FAT และตรวจสอบให้แน่ใจว่าพาร์ติชันดังกล่าวเป็น พาร์ติชันหลัก (ที่สามารถโฮสต์ระบบปฏิบัติการได้) พาร์ติชันเพิ่มเติมที่คุณจะต้องเข้าถึงเมื่อใช้ Windows รุ่นก่อนหน้านี้ก็จะต้องได้รับการฟอร์แมตด้วยระบบแฟ้ม FAT32 ด้วย ทั้งนี้ Windows รุ่นก่อนหน้าเหล่านี้สามารถเข้าถึงพาร์ติชัน NTFS หรือไดรฟ์ข้อมูลผ่านทางเครือข่ายได้ ไม่ใช่บนคอมพิวเตอร์ของคุณ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น